×
ย้อนกลับ

เกร็ดความรู้พืช จากโดส

นำเสนอโดย ดร.สยามรัฐ ป้านภูมิ นักวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
EP.1 พลังแห่งปุ๋ยอากาศ-ธาตุคาร์บอน (Co2)

การใช้ปุ๋ยอากาศกับสวนผลไม้ช่วยเพิ่มผลผลิตได้จริงหรือไม่?


ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับขั้นตอนการปลูกผลไม้ และความสำคัญของ Co2 ที่มีต่อต้นพืชเป็นอย่างไรบ้าง


1.) ขั้นตอนการปลูกผลไม้ของชาวสวนทั่วไป

      1.1 ขั้นที่ 1 การเตรียมต้น เตรียมใบ ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน(N)สูง เช่น ยูเรีย รวมทั้งการให้น้ำ และพรวนดิน


      1.2 ขั้นที่ 2 กระบวนการกระตุ้นการออกดอก ติดผล บำรุงผล ขยายผล ได้แก่ กระตุ้นการออกดอก (เปิดตาดอก การยืดช่อ บำรุงช่อดอก), การป้องกันการหลุดร่วงของดอก, การติดผล, การป้องกันการร่วงของผล, การขยายผล การเพิ่มเนื้อและความหวานของผล ล้วนเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก และมีความซับซ้อนเป็นการยากที่ชาวสวนจะทำให้ผลไม้นี้ สามารถออกดอกติดผลได้ทุกปี ทุกฤดูกาล ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพอากาศหลายอย่าง แต่ที่สำคัญที่สุดที่นักวิชาการด้านพืชสวน ให้ความสนใจ คือ ค่า C/N Ratio นั่นคือ อัตราส่วนปริมาณของ C/N ในต้นพืช (C หมายถึง คาร์บอน / N หมายถึง ไนโตรเจน)


โดยที่ต้นพืชจะต้องมี Co2 และ N ในอัตราที่เหมาะสม (C/N Ratio) พืชจึงจะออกดอกได้ ตามหลักการดังนี้


C/N ต่ำ = C น้อยกว่า N พืชจะไม่ออกดอก แต่จะสร้างใบอ่อนแทน


C/N สูง = C มากกว่า N พืชจะออกดอก


C เท่ากับ N พืชจะสร้างใบแซมดอก


ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีค่า C/N Ratio ไม่เท่ากัน ได้แก่


ทุเรียน มากกว่า 18/1


ลำไย มากกว่า 25/1


มะม่วง มากกว่า 30/1


มังคุด มากกว่า 38/1


ดังนั้นถ้าค่า C/N Ration ต่ำ พืชก็จะไม่ออกดอก จะออกแต่ใบแทน


สรุปได้ว่า จากกระบวนการนี้ การออกดอกของผลไม้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยพลังงานคาร์บอน (Co2) สูงกว่าไนโตรเจน (N)

2.) การสะสมธาตุคาร์บอนและไนโตรเจนของพืช

ต้นพืชจะสะสมคาร์บอน(Co2) และไนโตรเจน(N)ไว้ที่ “ใบ” ของพืช ดังนี้


      2.1 คาร์บอน(Co2) ดูดซับมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ > ผ่านทางปากใบพืช > เข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์แสง เปลี่ยน Co2 เป็นน้ำตาล > เปลี่ยนจากน้ำตาล เป็นแป้ง > เก็บไว้เป็นคาร์บอนสำรอง (Carbon Sorce) เพื่อใช้ในการออกดอก


      2.2 ไนโตเจน (N) มาจากทางดินในรูปแบบของปุ๋ยแอมโมเนียม หรือ ไนเตรท > ดูดซึมผ่านทางราก > > ในรูปของกรดอะมิโนชนิดต่างๆ > มาสะสมไว้ที่ใบเป็นแหล่งเก็บไนโตเจนของพืช (Nitrogen Sorce) ดังนั้นสรุปได้ว่า ถ้าพืชเก็บคาร์บอน มากกว่า ไนโตรเจน พืชก็จะออกดออก แต่ถ้าพืชเก็บคาร์บอน น้อยกว่าไนโตเจน พืชก็จะออกใบแทน

3.) ค่า C/N Ratio ในสภาพอากาศตามธรรมชาติ

-ฝนตกชุก ผลไม้จะไม่ออกดอก (N จากน้ำฝนมีปริมาณมาก ทำให้ค่า C/N ต่ำ) เพราะเมื่อฝนตก ธาตุไนโตเจนจากอากาศ จะถูกชะล้างลงมาสะสมไว้ในดิน ทำให้พืชได้รับไนโตรเจนจากดินมากเกินไป เมื่อไนโตรเจนสูง ในขณะที่ธาตุคาร์บอนคงที่ จึงทำค่า C/N Ratio ต่ำส่งผลให้พืชไม่ออกดอก -ฝนน้อยหรือแล้ง ผลไม้ออกดอก (N จากน้ำฝนมีน้อย ทำให้ค่า C/N สูง) เพราะเมื่อธาตุไนโตเจนจากน้ำฝนมีน้อย ทำให้พืชได้รับน้อยตามไปด้วย ค่า C/N สูงส่งผลให้พืชออกดอก

4.) วิธีการเพิ่มธาตุคาร์บอน C และลดค่า N เพื่อชักนำการออกดอกของพืช ที่ชาวสวนมักนำมาใช้ ได้แก่

      1. การให้ทานอาหารที่ช่วยสะสมแป้งและน้ำตาลในพืช เช่น โพแทสเซียม


      2. การให้ธาตุอาหารรองและอาหารเสริม เช่น แคลเซียม โบรอน


      3. ใช้สารยับยั้งฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน เช่น Paclobutrazolในมะม่วง


      4. ราดสารโพแทสเซียมคลอเร็ต ในลำใย


      5. งดการให้ปุ๋ยไนโตเจน


      6. งดให้น้ำ


ซึ่งวิธีการเหล่านี้ล้วนมีวิธีการที่ยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายที่สูง และยังมีโอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จอีกด้วย

5.) โดส เอ็กซ์ตร้า นาโน มีทางออกให้ชาวสวนผลไม้ ด้วยนวัตกรรมใหม่ ที่สามารถเพิ่มค่า C ให้สูงกว่าค่า N ได้

นวัตกรรมปุ๋ยอากาศ-ธาตุคาร์บอน เจ้าแรกของไทย มีสารสำคัญที่สามารถปลดปล่อยธาตุคาร์บอน Co2 หรือ Co2 Genator นี้ เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นโดส ทุก 15-30 วัน จะสามารถเพิ่มปริมาณธาตุคาร์บอนในใบพืชได้แบบไม่จำกัด ทำให้ค่า C/N Ration เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้พืชออกดอกได้ทุกฤดูกาล โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีใดๆ และยังลดการใช้ธาตุอาหารรอง อาหารเสริม ฮอร์โมนเร่งดอก ได้ 100% และยังลดปุ๋ยเคมีทางดินได้ 80-100% อีกด้วย

บทสรุป

นวัตกรรมปุ๋ยอากาศ กับสวนผลไม้ ดีอย่างไร


โดส สามารถกระตุ้นการออกดอกได้ 100% โดยไม่ต้องใช้อาหารเสริมใดๆ นอกจากใช้โดส เอ็กซ์ตร้านาโน เพียงขวดเดียว ในขณะเดียวกันช่วยเพิ่มผลผลิต 3-5 เท่า ลดการใช้ปุ๋ยเคมีทางดิน 80-100% และสร้างผลกำไรให้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าอีกด้วยครับ

โดส เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน